Content Management System หรือ CMS คืออะไร
Content Management System หรือ CMS คืออะไร
CMS หรือ Content Management System คือระบบสร้างเว็บไซต์ที่สะดวก และรวดเร็วมากขึ้น โดยมีจุดเด่นคือไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโค้ด ก็สามารถสร้างเว็บไซต์เองได้ มีข้อดีตรงที่ สามารถปรับแต่งได้ง่าย รองรับ SEO และมักมีปลั๊กอินเสริม เช่น WordPress และ Joomla ซึ่งเหมาะสำหรับเว็บไซต์หลากหลายประเภท หากคุณเลือก CMS ได้เหมาะสม ก็จะช่วยให้คุณสามารถจัดการเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น และ CMS เหมาะสำหรับการใช้งานทั้งส่วนบุคคลและธุรกิจ
ฟังก์ชันหลักของ Content Management System (CMS)
1. การสร้างและการจัดการเนื้อหา
- ผู้ใช้สามารถสร้าง แก้ไข และลบเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโค้ด
- รองรับการเพิ่มเนื้อหาหลากหลายประเภท เช่น ข้อความ รูปภาพ วีดีโอและเอกสาร
2. การสนับสนุนหลายภาษา
- ฟังก์ชันการสร้างเว็บไซต์หลายภาษา ช่วยให้เว็บไซต์รองรับผู้เข้าชมได้จากหลากหลายประเทศ และหลากหลายภาษา
3. การจัดการผู้ใช้งาน
- ระบบ CMS สามารถกำหนดบทบาท และสิทธิ์ของผู้ใช้งาน เช่น ผู้ดูแลระบบ (Admin), ผู้เขียน (Writer) หรือผู้ใช้งานทั่วไป (Subscriber)
- ช่วยให้การจัดการผู้ใช้งานและสิทธิ์เขาถึงต่างๆ ง่ายขึ้น
4. ติดตามการทำงานได้
- มีฟังก์ชันในการติดตามการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ว่าจะเป็นการเขียน การแก้ไข การตรวจสอบ ไปจนถึงการโปรโมต และการเผยแพร่
- สามารถอัปเดตคอนเท้นได้อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากมีระบบการจัดระเบียบคอนเท้นที่ดี สามารถเข้าถึงคอนเท้นในเว็บไซต์ได้ง่ายด้วย
- มีเครื่องมือช่วยให้ผู้ใช้งาน สามารถปรับแต่งเนื้อหาของเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับเครื่องมือค้นหา (เช่น Google)
- เช่น การตั้งค่า URL, การใช้คำสำคัญ (Keyword), การตั้งค่า metadata และการสร้างแผนที่เว็บไซต์ (sitemap)
ข้อดีของการใช้ Content Management System หรือ CMS
- ใช้งานง่าย : คนทั่วไปก็สามารถใช้งานได้ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเขียนโค้ด สามารถสร้าง แก้ไข และจัดการเนื้อหาได้อย่างง่ายดาย
- มีฟีเจอร์เสริมที่ช่วยให้ทำงานได้หลากหลาย : ฟีเจอร์บางตัวสามารถโหลดฟรีได้ ไม่มีค่าใช้จ่าย
- อนุญาตให้เข้าใช้งานได้หลายคน : ทำให้สามารถจัดการคอนเท้นพร้อมกันได้ รวมร่วมกันทำงานส่วนต่างๆได้อย่างมีระบบ ทำให้การทำเว็บไซต์ รวมถึงการจัดการคอนเท้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว
- มีความปลอดภัยสูง : มีฟีเจอร์และส่วนเสริมที่ช่วยในการรักษาความปลอดภัย และบางระบบอาจมีทีมรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น CMS Hub ที่มีทีมรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง
แม้ว่าการใช้ระบบ CMS จะมีข้อดีมากมาย แต่หลายคนก็ยังเลือกที่จะไม่ใช้มันด้วยเหตุผลดังนี้
- ข้อจำกัดด้านการปรับแต่ง : CMS มีข้อจำกัดในด้านการปรับแต่งเฉพาะทางหรือการสร้างฟังก์ชันพิเศษที่ต้องใช้โค้ดแบบเจาะจง หากคุณไม่มีความรู้ด้านการเขียนโค้ดอาจจะทำให้ไม่สามารถปรับแต่งได้ทุกอย่างตามที่ต้องการ
- ความยุ่งยากในการบำรุงรักษา : CMS ต้องการการอัปเดตอย่างสม่ำเสมอ และการตรวจสอบปลั๊กอินที่ใช้ ซึ่งเพิ่มภาระให้กับการดูแลระบบ
- ปัญหาความเข้ากันได้กับระบบเดิม : หากมีระบบเดิมอยู่แล้ว CMS อาจเข้ากันไม่ได้ หรือยากต่อการผสานข้อมูล
วิธีการเลือก CMS ที่เหมาะสมสำหรับเว็บไซต์ของคุณ
การเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมสำหรับแต่ละโครงการเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเว็บไซต์ เนื่องจากแต่ละ CMS มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันและตอบสนองความต้องการเฉพาะ เช่น WordPress เหมาะสำหรับบล็อกและเว็บไซต์ทั่วไปที่ต้องการการปรับแต่งที่ง่าย Shopify เหมาะสำหรับร้านค้าออนไลน์ Joomla เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการการจัดการหลายระดับ และ Drupal เหมาะสำหรับเว็บไซต์องค์กรหรือหน่วยงานที่ต้องการความปลอดภัยสูงและประสิทธิภาพดี สามารถจัดการข้อมูลที่ซับซ้อนได้อย่างยืดหยุ่น นอกจากนี้ การเขียนโค้ดแบบกำหนดเองยังสามารถเพิ่มได้ในทุกแพลตฟอร์ม เพื่อปรับแต่งและเพิ่มความสามารถให้ตรงกับเป้าหมายธุรกิจ