fbpx

เว็บไซต์อีคอมเมิซ แตกต่างกับเว็บไซต์ทั่วไปยังไง

ในโลกดิจิทัล การมีเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพสูงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างตัวเองให้เป็นธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจประเภทของเว็บไซต์หลักๆที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายคือ เว็บไซต์ทั่วไป และ เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ซึ่งเว็บไซต์สองแบบนี้มีความแตกต่างกันที่ฟังก์ชั่นการใช้งาน และความต้องการของระบบฐานข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงทำให้ต้องใช้การเขียนโปรแกรมและการพัฒนาในระดับที่ต่างกันด้วย โดยเว็บไซต์อีคอมเมิซและเว็บไซต์ทั่วไปมีรายละเอียดที่แตกต่างกันดังนี้

ด้านฟังก์ชันการทำงาน

เว็บไซต์ทั่วไป: มักเน้นการแสดงข้อมูล เช่น เว็บไซต์บริษัท องค์กร หรือบล็อก ที่มีเนื้อหาคงที่ (Static Content) หรือเน้นการให้ข้อมูลข่าวสารเป็นหลัก คือเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจขององค์กรหรือบริษัท ไม่ว่าจะการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กร รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ ช่วยให้รับรู้ถึงคุณค่าจุดเด่นธุรกิจได้ง่ายขึ้น

เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ: เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในการซื้อของออนไลน์ เป็นเว็บไซต์ที่ออกแบบมาเพื่อการขายโดยเฉพาะ ตั้งแต่สินค้าที่จับต้องได้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ในบ้าน อุปกรณ์เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ไปจนถึงสินค้าดิจิทัล เช่น หลักสูตร หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ภาพยนตร์ เป็นต้นมีระบบที่รองรับการทำธุรกรรมออนไลน์ เช่น ตะกร้าสินค้า (Shopping Cart), ระบบชำระเงิน (Payment Gateway), และฟังก์ชันจัดการสินค้า (Inventory Management)

White and Blue Professional Modern Technology Pitch Deck Presentation 2

 

ด้านการออกแบบโครงสร้าง

เว็บไซต์ทั่วไป: มักมีหน้าเว็บเพจจำนวนไม่มาก เน้นโครงสร้างเรียบง่าย เช่น หน้าหลัก (Home), เกี่ยวกับเรา (About), ติดต่อเรา (Contact)

เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ: มีโครงสร้างซับซ้อน เช่น หน้าสินค้า (Product Pages), หน้าโปรโมชั่น, หน้าการสมัครสมาชิก,ระบบการจัดการสินค้า, และระบบติดตามสถานะการสั่งซื้อ

online web design

 

ด้านประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience)

เว็บไซต์ทั่วไป: เว็บไซต์ประเภทนี้มุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับองค์กร บริการ หรือหัวข้อเฉพาะทาง เช่น เว็บไซต์ของบริษัท, เว็บไซต์ข่าวสาร, หรือเว็บไซต์ความรู้ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจแก่ผู้เยี่ยมชม ดึงดูดความสนใจเน้นการสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ เช่น บทความ รูปภาพ หรือวิดีโอ เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมใช้เวลาอยู่ในเว็บไซต์นานขึ้น

เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ:  เป็นหนึ่งในหลาย ๆ วิธีที่ผู้คนใช้ซื้อและค้าขายปลีก บางบริษัทเน้นขายของออนไลน์อย่างเดียว แต่ในอีกหลายแห่ง Ecommerce เป็นช่องทางค้าขายที่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การตลาดที่รวมไปถึงการมีหน้าร้านและช่องทางสร้างกำไรอื่น ๆ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะทางไหน Ecommerce ก็ทำให้ทั้งสตาร์ทอัพ ธุรกิจขนาดเล็กและบริษัทใหญ่ได้ขยายการขายสินค้า แถมได้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าทั่วโลกโดยออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหา เลือกซื้อ และชำระเงินได้ง่ายที่สุด เช่น ระบบกรองสินค้า การเปรียบเทียบราคา และการออกแบบ Mobile-friendly

shop online internet shopping store concept

 

ด้านความปลอดภัย

เว็บไซต์ทั่วไป: เว็บไซต์ทั่วไปที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมออนไลน์ (เช่น การชำระเงินหรือการซื้อขายสินค้า) มักจะ ใช้มาตรการความปลอดภัยพื้นฐาน เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัวของผู้เยี่ยมชมและปกป้องเว็บไซต์จากการถูกโจมตี เช่น ชื่อ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อความที่ส่งผ่านแบบฟอร์มติดต่อ ลดความเสี่ยงที่ข้อมูลจะถูกดักจับหรือถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ: เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซต้องใช้การรักษาความปลอดภัยที่สูงขึ้น เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมออนไลน์ เช่น การชำระเงิน การจัดเก็บข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลทางการเงินของลูกค้า ความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันการโจรกรรมข้อมูลและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้งาน เช่น การเข้ารหัสข้อมูล (SSL), ระบบป้องกันการโจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิตเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเข้ารหัสข้อมูลระหว่างผู้ใช้งาน (Client) และเว็บไซต์ (Server) เพื่อป้องกันการดักจับข้อมูลระหว่างการส่งผ่านเครือข่าย เช่น ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และข้อมูลบัตรเครดิตจากการถูกดักจับโดยบุคคลที่สาม เว็บไซต์ที่ใช้ SSL จะมี URL ขึ้นต้นด้วย "https://" และแสดงสัญลักษณ์แม่กุญแจในเบราว์เซอร์

secured access accessibility analysising browsing concept

 

การจัดการหลังบ้าน (Content Management System)

เว็บไซต์ทั่วไป: เว็บไซต์ทั่วไปที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมออนไลน์ส่วนใหญ่ การจัดการข้อมูลมักจะเน้นไปที่การอัปเดตข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเพิ่มหรือแก้ไขเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ โดยมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ต้องมีการจัดการข้อมูลที่ซับซ้อนกว่า เช่น ข้อมูลการชำระเงิน หรือข้อมูลลูกค้า 

เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ: เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซต้องการระบบหลังบ้าน (Backend) ที่ซับซ้อนและมีฟังก์ชันหลากหลายเพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าและบริการออนไลน์ ระบบหลังบ้านเหล่านี้ช่วยให้การจัดการและติดตามข้อมูลต่างๆ ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ  เช่น ระบบจัดการคลังสินค้า , การตรวจสอบสต็อกแบบเรียลไทม์ , การตั้งค่าการแจ้งเตือนสินค้าใกล้หมด , การจัดหมวดหมู่สินค้า เป็นต้น 

content management system strategy cms concept 2

ตารางเปรียบเทียบการทำงานระหว่างเว็บไซต์ทั่วไป และ เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ

ด้านการเปรียบเทียบ เว็บไซต์ทั่วไป เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ
ฟังก์ชันการทำงาน - เน้นการแสดงข้อมูล เช่น ข้อมูลองค์กร บริการ ผลิตภัณฑ์
- สนับสนุนภาพลักษณ์ธุรกิจ
- เนื้อหาคงที่ (Static Content)
- รองรับการขายสินค้าและบริการออนไลน์
- มีฟังก์ชันสำหรับทำธุรกรรม เช่น ตะกร้าสินค้า ระบบชำระเงิน และจัดการสินค้า
การออกแบบโครงสร้าง - โครงสร้างเรียบง่าย
- หน้าหลัก, เกี่ยวกับเรา, ติดต่อเรา
- โครงสร้างซับซ้อน
- หน้าสินค้า, หน้าโปรโมชั่น, ระบบจัดการสินค้า, ติดตามคำสั่งซื้อ
ประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) - นำเสนอข้อมูลเนื้อหาเชิงข้อมูล
- ดึงดูดด้วยบทความ วิดีโอ รูปภาพ เพื่อเพิ่มเวลาในการใช้งานเว็บไซต์
- มุ่งเน้นให้ผู้ใช้ค้นหา เลือกซื้อ และชำระเงินได้ง่าย
- รองรับฟังก์ชันเสริม เช่น ระบบกรองสินค้า เปรียบเทียบราคา ออกแบบ Mobile-friendly
ความปลอดภัย - ใช้มาตรการพื้นฐานป้องกันข้อมูลส่วนตัว เช่น อีเมล เบอร์โทรศัพท์
- ลดความเสี่ยงข้อมูลถูกดักจับ
- ใช้การเข้ารหัส SSL, ระบบป้องกันข้อมูลบัตรเครดิต
- มี URL ขึ้นต้นด้วย "https://" และสัญลักษณ์แม่กุญแจในเบราว์เซอร์
การจัดการหลังบ้าน (Back-end) - เน้นการอัปเดตข้อมูลพื้นฐาน เช่น เนื้อหาบนเว็บไซต์ - ระบบจัดการซับซ้อน
- มีฟังก์ชัน เช่น ระบบจัดการคลังสินค้า ตรวจสอบสต็อกแบบเรียลไทม์ แจ้งเตือนสินค้าใกล้หมด และหมวดหมู่สินค้า เป็นต้น